วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

วันพุธ ที่ 18 และ อาทิทย์ที่ 22  พฤศจิกายน 2558
รายวิชาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด 
                                                   กลุ่ม 102 ห้อง 223 เวลา 12.30 - 15.30 น.

  • กิจกรรมของสัปดาห์นี้ คือ การปั้มไก่ก่อนเข้าเรียน 
  • การอธิบายการเรียนของเทอม 2
  • การจัดนิทรรศการจากนักศึกษา ชั้นปี 2
  • การส่งชิ้นงานคู่
  • การแกะยางลบ
ความรู้ที่ได้รับ
- การเตรียมความพร้อมของการสอบ/วันส่งชิ้น
- การเตรียมการจัดนิทรรศการจากนักศึกษา
- วิธีการเกะยางลบ
การเรียนการสอนของวันพุธ
  • วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการเรียนในเทอม 2 โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในการจัดกลุ่มเรียนและการจัดนิทรรศการจากนักศึกษา ชั้นปี 2 หลังจากชี้แจงให้นักศึกษาฟังอย่างคราว ๆ แล้วให้ตัวแทนรวบรวมชิ้นงานส่งโดยดิฉันคู่กับ นางสาวกัณยารัตน์   แสนโคตร ทำแผ่นเพลงและอักษรอะไรเอ่ย
ด้านหน้า

ด้านใน
*ข้ออภัยเนื่องจาก แผ่นเพลงได้ส่งก่อนหน้านี้จึงไม่มีภาพประกอบ





การเรียนการสอนของวันอาทิตย์

  • การอบรบชิงปฏิบัติการ เกะตัวปั๊มจากยางลบเวลาเริ่ม 13.00-16.00 น. บรรยากาศก่อนการทำกิจกรรมพี่วิทยากรตรียมพร้อมแล้วค่ะ



  • จากนั้นพี่อธิบายถึงความเป็นมา แรงจูงใจในการเกะตัวปั๊มจากยางลบโดยความเป็นมาเกิดจากประเทศญี่ปุ่น การเกะยางบล ได โซะ แรงจูงใจคือการมีรายได้ระหว่างเรียนบวกกับชอบการวาดรูปและทำขายผลตอบรับคือดีมาก พี่วิทยากรจึงทำมาเรื่อย ๆ และไม่หวงที่จะถ่ายทอดความรู้
                  อุปกรณ์ของพี่วิทยากรตรียมไว้ให้ น่ารักมุ่งมิ้งเป็นที่สุด ตื่นเต้นแล้วสิจะออกมาเป็นยังไงนะ


  • ขั้นตอนวิธีการเกะ

  1. เลือกรูปภาพที่ชอบ หรือถ้ามีฝีมือในการวาดรูป จะวาดการ์ตูนน่ารักๆ ลงบนกระดาษเองก็ได้นะคะ สำหรับใครที่ยังไม่มีไอเดียตอนนี้เราทำขั้นพื้นฐานวาดเป็นก่อนเมฆก่อนละกันเนอะ
  2. ใช้กระดาษลอกลายทาบลงบนรูปภาพแล้วใช้ดินสอวาดตามให้เข้มและคมชัดที่สุดทาบกระดาษลอกลาย จากนั้นลูบหรือขูดเบาๆ ให้เกิดรอยเส้นดินสอบนก้อนยางลบค่ะ
  3. ถ้ากลัวว่าเส้นยางลบจะเลือนหายไป ใช้ดินสอวาดทับอีกครั้ง แล้วจึงตัดยางลบให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมเล็กๆ ซึ่งจะช่วยให้แกะยางลบได้สะดวกขึ้นค่ะ
  4. หยิบมีดแกะสลักหรือคัตเตอร์ขึ้นมาได้เลย! เริ่มกรีดรอบขอบเส้นด้านนอกของรูปโดยเอียงมีดทำมุมประมาณ 45 องศา จะช่วยให้ไม่เผลอตัดส่วนที่เป็นเส้นดินสอออกไปด้วยค่ะ  เวลากรีดให้หมุนตัวยางลบไปเรื่อยๆ แทนการขยับข้อมือนะคะ เพราะทำให้กรีดได้แม่นยำกว่า และไม่ทำให้ข้อมือปวดเกร็งมากเกินไป
  5. เมื่อกรีดขอบเสร็จแล้ว จรดปลายมีดให้ห่างจากเส้นขอบรูปภาพ แล้วค่อยๆ ลากใบมีดโค้งไปตามรูปภาพอีกครั้ง โดยใบมีดเอียงประมาณ 45 องศาเข้าหาเส้น จากนั้นใช้ปลายมีดสะกิดเอาเศษยางลบออก
  6. ตัดแต่งขอบยางลบให้กลมมน และลองประทับดู สวยใช่มั้ย ค่ะ เป็นอันสวยงาม

                                                                              ภาพประกอบ

หลังจากอธิบายขั้นตอนวิธีการทำจนเสร็จ ชิ้นแรกที่ทุกคนต้องทำ คือ ก้อนเมฆ ค่ะ มาดูกันลย ^^




  • ต่อมาพี่วิทยากรและอาจารย์พูดถึงการแข่งขัน การเกะยางลบในวันนี้  ให้นักศึกษาส่งยางลบที่ตนเองทำที่คิดว่าสวยเข้าประกวด รางวัลคือ หมึกปั๊มอย่างดีจากญี่ปุ่น ไม่รอช้าดิฉันทำตัวการ์ตูนน้องดอนส่งเข้าประกวด
                                                     ระหว่างที่ทุกคนตั้งใจทำงานส่งเข้าประกวด 



                          นี่คือชิ้นงานของแต่ละคนที่ส่งเข้าประกวดค่ะ แต่ละชิ้นสวยจริงอะไรจริงค่ะ


             ถึงเวลาต้องตัดสินชี้ชะตาว่าใครคือ The Face Thailand  oops! ไม่ใช่ค่ะ ตัดสินว่าใครจะได้
                รางวัล "หมึกทรงคุณค่าจากประเทศณี่ปุ่นนน"




                คุณคือผู้ที่ถูกเลือก  สวยงามตามท้องเรื่อง  ปรบมือ (((()))) ส่งมอบความสุข 4 รางวัล


                       มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
                 จบด้วยมิตรภาพสวย ๆ นะค่ะ สำหรับวันนี้ดิฉันเกตุวรินทร์  นามวา ขอบคุณค่ะ
                                     




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
            การมีสมาธิ การตั้งสติจากการกระะทำทุกสิ่งอย่าง
ขั้นตอนการทำกิจกรรมร่วมถึงมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในอนาคตได้

การประเมินผล
การประเมินผลของตนเอง เรียนรู้และเข้าใจในการเรียนการสอนร่วมถึงสนุกสนานกับกิจกรมมการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้แม้ว่าตนเองจะไม่มีความถนัดในเรื่องการเกะยางลบแต่ก็สนุกกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น
 การประเมินผลของเพื่อน   เคารพและเชื่อฟังคำสั่งของอาจารย์และวิทยากรที่มาให้คำแนะนำในการเกะยางลบดี มีส่วนร่วมช่วยเหลือกันแลกันตลอดจนให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
การประเมินผลของอาจารย์  อาจารย์และพี่วิทยากรมีความตรงต่อเวลาให้อิสระในการทำงานของนักศึกษาและให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่อุปกรณ์มีไม่พร้อม   สามารถแนะนำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นักศึกษาจะนำไปปรับใช้ในอนาคตได้




จบการนำเสนอ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น