วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

วันพุธ ที่ 18 และ อาทิทย์ที่ 22  พฤศจิกายน 2558
รายวิชาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด 
                                                   กลุ่ม 102 ห้อง 223 เวลา 12.30 - 15.30 น.

  • กิจกรรมของสัปดาห์นี้ คือ การปั้มไก่ก่อนเข้าเรียน 
  • การอธิบายการเรียนของเทอม 2
  • การจัดนิทรรศการจากนักศึกษา ชั้นปี 2
  • การส่งชิ้นงานคู่
  • การแกะยางลบ
ความรู้ที่ได้รับ
- การเตรียมความพร้อมของการสอบ/วันส่งชิ้น
- การเตรียมการจัดนิทรรศการจากนักศึกษา
- วิธีการเกะยางลบ
การเรียนการสอนของวันพุธ
  • วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการเรียนในเทอม 2 โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในการจัดกลุ่มเรียนและการจัดนิทรรศการจากนักศึกษา ชั้นปี 2 หลังจากชี้แจงให้นักศึกษาฟังอย่างคราว ๆ แล้วให้ตัวแทนรวบรวมชิ้นงานส่งโดยดิฉันคู่กับ นางสาวกัณยารัตน์   แสนโคตร ทำแผ่นเพลงและอักษรอะไรเอ่ย
ด้านหน้า

ด้านใน
*ข้ออภัยเนื่องจาก แผ่นเพลงได้ส่งก่อนหน้านี้จึงไม่มีภาพประกอบ





การเรียนการสอนของวันอาทิตย์

  • การอบรบชิงปฏิบัติการ เกะตัวปั๊มจากยางลบเวลาเริ่ม 13.00-16.00 น. บรรยากาศก่อนการทำกิจกรรมพี่วิทยากรตรียมพร้อมแล้วค่ะ



  • จากนั้นพี่อธิบายถึงความเป็นมา แรงจูงใจในการเกะตัวปั๊มจากยางลบโดยความเป็นมาเกิดจากประเทศญี่ปุ่น การเกะยางบล ได โซะ แรงจูงใจคือการมีรายได้ระหว่างเรียนบวกกับชอบการวาดรูปและทำขายผลตอบรับคือดีมาก พี่วิทยากรจึงทำมาเรื่อย ๆ และไม่หวงที่จะถ่ายทอดความรู้
                  อุปกรณ์ของพี่วิทยากรตรียมไว้ให้ น่ารักมุ่งมิ้งเป็นที่สุด ตื่นเต้นแล้วสิจะออกมาเป็นยังไงนะ


  • ขั้นตอนวิธีการเกะ

  1. เลือกรูปภาพที่ชอบ หรือถ้ามีฝีมือในการวาดรูป จะวาดการ์ตูนน่ารักๆ ลงบนกระดาษเองก็ได้นะคะ สำหรับใครที่ยังไม่มีไอเดียตอนนี้เราทำขั้นพื้นฐานวาดเป็นก่อนเมฆก่อนละกันเนอะ
  2. ใช้กระดาษลอกลายทาบลงบนรูปภาพแล้วใช้ดินสอวาดตามให้เข้มและคมชัดที่สุดทาบกระดาษลอกลาย จากนั้นลูบหรือขูดเบาๆ ให้เกิดรอยเส้นดินสอบนก้อนยางลบค่ะ
  3. ถ้ากลัวว่าเส้นยางลบจะเลือนหายไป ใช้ดินสอวาดทับอีกครั้ง แล้วจึงตัดยางลบให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมเล็กๆ ซึ่งจะช่วยให้แกะยางลบได้สะดวกขึ้นค่ะ
  4. หยิบมีดแกะสลักหรือคัตเตอร์ขึ้นมาได้เลย! เริ่มกรีดรอบขอบเส้นด้านนอกของรูปโดยเอียงมีดทำมุมประมาณ 45 องศา จะช่วยให้ไม่เผลอตัดส่วนที่เป็นเส้นดินสอออกไปด้วยค่ะ  เวลากรีดให้หมุนตัวยางลบไปเรื่อยๆ แทนการขยับข้อมือนะคะ เพราะทำให้กรีดได้แม่นยำกว่า และไม่ทำให้ข้อมือปวดเกร็งมากเกินไป
  5. เมื่อกรีดขอบเสร็จแล้ว จรดปลายมีดให้ห่างจากเส้นขอบรูปภาพ แล้วค่อยๆ ลากใบมีดโค้งไปตามรูปภาพอีกครั้ง โดยใบมีดเอียงประมาณ 45 องศาเข้าหาเส้น จากนั้นใช้ปลายมีดสะกิดเอาเศษยางลบออก
  6. ตัดแต่งขอบยางลบให้กลมมน และลองประทับดู สวยใช่มั้ย ค่ะ เป็นอันสวยงาม

                                                                              ภาพประกอบ

หลังจากอธิบายขั้นตอนวิธีการทำจนเสร็จ ชิ้นแรกที่ทุกคนต้องทำ คือ ก้อนเมฆ ค่ะ มาดูกันลย ^^




  • ต่อมาพี่วิทยากรและอาจารย์พูดถึงการแข่งขัน การเกะยางลบในวันนี้  ให้นักศึกษาส่งยางลบที่ตนเองทำที่คิดว่าสวยเข้าประกวด รางวัลคือ หมึกปั๊มอย่างดีจากญี่ปุ่น ไม่รอช้าดิฉันทำตัวการ์ตูนน้องดอนส่งเข้าประกวด
                                                     ระหว่างที่ทุกคนตั้งใจทำงานส่งเข้าประกวด 



                          นี่คือชิ้นงานของแต่ละคนที่ส่งเข้าประกวดค่ะ แต่ละชิ้นสวยจริงอะไรจริงค่ะ


             ถึงเวลาต้องตัดสินชี้ชะตาว่าใครคือ The Face Thailand  oops! ไม่ใช่ค่ะ ตัดสินว่าใครจะได้
                รางวัล "หมึกทรงคุณค่าจากประเทศณี่ปุ่นนน"




                คุณคือผู้ที่ถูกเลือก  สวยงามตามท้องเรื่อง  ปรบมือ (((()))) ส่งมอบความสุข 4 รางวัล


                       มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
                 จบด้วยมิตรภาพสวย ๆ นะค่ะ สำหรับวันนี้ดิฉันเกตุวรินทร์  นามวา ขอบคุณค่ะ
                                     




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
            การมีสมาธิ การตั้งสติจากการกระะทำทุกสิ่งอย่าง
ขั้นตอนการทำกิจกรรมร่วมถึงมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในอนาคตได้

การประเมินผล
การประเมินผลของตนเอง เรียนรู้และเข้าใจในการเรียนการสอนร่วมถึงสนุกสนานกับกิจกรมมการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้แม้ว่าตนเองจะไม่มีความถนัดในเรื่องการเกะยางลบแต่ก็สนุกกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น
 การประเมินผลของเพื่อน   เคารพและเชื่อฟังคำสั่งของอาจารย์และวิทยากรที่มาให้คำแนะนำในการเกะยางลบดี มีส่วนร่วมช่วยเหลือกันแลกันตลอดจนให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
การประเมินผลของอาจารย์  อาจารย์และพี่วิทยากรมีความตรงต่อเวลาให้อิสระในการทำงานของนักศึกษาและให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่อุปกรณ์มีไม่พร้อม   สามารถแนะนำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นักศึกษาจะนำไปปรับใช้ในอนาคตได้




จบการนำเสนอ







วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8

วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน 2558
รายวิชาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด 
                                                   กลุ่ม 102 ห้อง 223 เวลา 12.30 - 15.30 น.
  • กิจกรรมแรกของสัปดาห์นี้ก็ คือ การปั๊มไก่ ก่อนเข้าเรียน
  • การทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้
ความรู้ที่ได้รับ
- การทำงานสื่อแต่ละชิ้นต้องมีการวางแผน
- ความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อผลงานและประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากสื่อ
- เรียนรู้การทำงานและการแบ่งปัน

  • จากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ให้เตรียมวัสดุเหลือใช้ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาคิดออกแบบสื่อที่ทำมาจากวัสดุที่เราเตรียมมา คิดอยู่สักพักดิฉันเลือกที่จะทำ สัญลักษณ์ของป้ายจราจร  เมื่อทำสื่อเสร็จก็นำเสนอหน้าชั้นเรียน ดังนี้




ชื่อสื่อ  ป้ายจราจรหรรษา

วัสดุที่ใช้   ยางรองเท้าทรงกลม

เหมาะกับการสอนที่เป็นกิจกรรม ช่วงอายุ 4-5 ปี  ดังนี้
กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์  จราจรหรรษาจะจัดกิจกรรมนอกสถานที่ โดยให้เด็กเรียนรู้จากป้ายจราจรต่าง ๆ ภายในรั่วโรงเรียนที่ใช้บ่อยกับสถานการณ์จริงร่วมถึงอธิบายและบอกข้อกำหนดในการปฏิบัติของแต่ละป้ายอาจจะมีเกมส่งเสริมจาการสังเกตในการจับภาพรูปเหมือน เป็นต้น

กิจกรรมเสรี  จราจรหรรษาจะอยู่มุมบทบาทสมมติ เด็กสามารถเลือกเล่นมุมต่าง ๆ ได้อย่างอิสระตามความสนใจและความต้องการของเด็ก มุ่งเน้นให้เด็กได้ตัดสินใจด้วยตนเอง อาจจะเล่นคนเดียว หรือกลุ่มย่อยก็ได้ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้การเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง

 เกมการศึกษา  จราจรหรรษาจัดเป็นเกมการศึกษา คือ สมมติบทบาทให้เด็กเป็นรถและเมื่ออาจารย์ยกป้ายสัญลักษณ์ขึ้นมา เช่น  ป้ายหยุด   ให้เด็กที่สมมติบทบาทเป็นรถหยุดรถทันที  เด็กได้เรียนรู้เรื่องสัญลักษณ์ที่ใกล้ตัวและสนุกไปพร้อมกับการเล่นเกมโดยสัญลักษณ์ที่ใช้คือสัญลักษณ์ที่ใกล้ตัวที่เด็กสามารถเข้าได้ง่าย

ส่งเสริมพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน
ด้านร่างกาย เด็กจะได้กล้ามเนื้อมัดใหญ่จากการเดินหรือวิ่ง การเล่นนอกสถานที่เด็กจะได้ฝึกประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตาในการบังคับทิศทาง
ด้านอารมณ์ ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์การกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ตื่นเต้นกับกิจกรรมที่อยู่ภายนอกชั้นเรียนและให้ความสนใจสนุกสนานพร้อมกับได้รับความรู้
ด้านสังคม  เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการปรับตัวในแต่ละสถานการณ์ เกิดการเสียสละ การแบ่งปัน  

ด้านสติปัญญา ส่งเสริมทางด้านภาษาและการเปรียบเทียบการสังเกตป้าย ลักษณะของภาพหรือภาษาที่ใช้





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

       สื่อที่ทำจากวัสดุเหลือใช้วันนี้ภาพควรเป็นภาพของจริงมากกว่านี้เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเกิดความสับสนการนำความรู้ไปประยุกต์คือ สัญลักษณ์เครื่องหมายจราจรเป็นเรื่องใกล้ตัวควรส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้จากสัญลักษณ์ที่ใกล้ตัวและใช้บ่อยและสามารถนำไปบูรณาการให้เข้ากับกิจกรรมในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 การประเมินผล
การประเมินผลของตนเอง เรียนรู้และเข้าใจในการเรียนการสอน 80% เพราะมีการจดบันทึกงานหรือคำแนะนำจากอาจารย์เพื่อช่วยเตือนความจำของตนเอง
 การประเมินผลของเพื่อน  เพื่อนมีความตั้งใจในการทำงานดีมาก เคารพและเชื่อฟังคำสั่งของอาจารย์มีส่วนรวมช่วยเหลือกันและกันตลอดให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
การประเมินผลของอาจารย์  อาจารย์ตรงต่อเวลาให้อิสระในการทำงานของนักศึกษาและให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่อุปกรณ์มีไม่พร้อม




จบการนำเสนอ




วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 28 ตุลาคม 2558


รายวิชาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด 

 กลุ่ม 102 ห้อง 223 เวลา 12.30 - 15.30 น.

  • กิจกรรมแรกของสัปดาห์นี้ คือ การปั้ม ไก่ ก่อนเข้าเรียน
  • แผ่นเพลง สื่อนันทนาการ



ความรู้ที่ได้รับ

- การทำสื่อเพื่อใช้สอนเองในอนาคตได้
- ได้เรียนรู้เพลงต่าง ๆ ที่หลากหลายของแต่ละกลุ่ม
- รู้จักขั้นตอนการทำแผ่นเพลง


  • อาจารย์อธิบายถึงขั้นตอนการประกอบแผ่นเพลงและยกตัวอย่างให้ดู การทำแผ่นเพลงสำหรับเพลงที่มีเนื้อหาที่ดีควรเว้นวรรคคำอ่าน เพลงที่มีลักษณะภาพที่สามารถสื่อให้เด็กเรียนรู้ง่ายจะทำให้เด็กเรียนรู้ทั้งทางลักษณะภาพและตัวอักษร





  • ขั้นตอนการทำแผ่นเพลง   โดยกลุ่มของเราแบ่งงานให้แต่ละคนได้ทำด้วยกัน ดิฉัน วาดภาพมะเขือเทศสีดา,ฟักทอง,กะหล่ำปีและระบาย ทุกคนช่วยกันระบายและติดกระดาษ ส่วนลายมือแผ่นเพลง คือ ผลงานของยุคลธร ค่ะ



ผลงานของกลุ่มดิฉัน  สวยใช่มั้ยค่ะ ^^

  • นอกจากจะสวยงามตามน่าตาแล้วแผ่นเพลงของกลุ่มดิฉันมีเนื้อหาที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ง่ายจากรูปภาพและร้องเพลงได้ง่ายค่ะ



  • ต่อมาอาจารย์อธิบายถึงการทำสื่อจากหนังสือเป็นรูปเล่ม โดยเนื้อหาจะเป็นภาพและตัวอักษรหรือจะเป็นสระก็ได้ให้นักศึกษาทำงานเป็นคู่ช่วยกันคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานตามที่เราอยากทำเกี่ยวกับอะไร เช่น อักษร อ.อ่าง หาคำศัพท์ที่มี อ.อ่าง หรือจะจัดเป็นหมวดหมู่ของใช้ที่มี อ.อ่างเป็นพยัญชนะ เป็นต้น   

  • การบ้านในสัปดาห์นี้ คือ จับคู่ทำแผ่นเพลงและหนังสือรูปเล่มตามจินตนาการของแค่ละกลุ่ม ส่ง 18 พฤศจิกายน 2558


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

       การเรียนรู้ครั้งนี้เราสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนเรื่องหน่วย จัดประสบการณ์การสอนร้องเพลงให้กับเด็ก  เสริมสร้างพัฒนาการทางอารมณ์ให้กับเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ เด็กได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เราสอนผ่านแผ่นเพลงรวมทั้งจดจำกับลักษณะของรูปภาพที่ได้เห็นและสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่แต่เดิมไปใช้ในเหตุการณ์จริงได้


 การประเมินผล


การประเมินผลของตนเอง  ดิฉันมีความตั้งใจช่วยเหลืองานกลุ่มอย่างเต็มที่ ไม่เกี่ยงว่างานชิ้นนั้นจะมีบทบาทสำคัญหรือไม่ ขอแค่ได้ช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มและรับผิดงานที่ได้รับมอบออกมาให้เต็มที่ก็เพียงพอ

การประเมินผลของเพื่อน  เพื่อนเตรียมตัวมาดีอาจารย์ให้ทำกิจกรรมทุกอย่างมีส่วนรวมช่วยเหลือกันและกันตลอดทำให้บรรยากาศดูสนุกสนานในระหว่างเล่นเกมเพื่อน ๆ ดูคลายความตึงเครียด

การประเมินผลของอาจารย์  อาจารย์ให้ความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากเนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของนักศึกษารวมถึงความตรงต่อเวลาของอาจารย์ยังคงเหมือนเดิมค่ะ





จบการนำเสนอ







วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 21 ตุลาคม 2558
รายวิชาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด 
                                                   กลุ่ม 102 ห้อง 223 เวลา 12.30 - 15.30 น.

  • กิจกรรมแรกของสัปดาห์นี้คือ การปั๊ม ก่อนเข้าเรียนอย่างเช่นทุกครั้ง
  • ระบายสีผลไม้ (เกมการศึกษา)
ความรู้ที่ได้รับ

- การทำสื่อจากเกมการศึกษาที่มีหลากหลายรูปแบบ

เริ่มต้นโดยกลุ่มของดิฉันแบ่งให้แต่ละคนเลือกทำสื่อมาหนึ่งชิ่้น 
ขั้นตอนการทำ 1.เลือกภาพที่ต้องการ
                        2.ระบายสีให้สวยงาม
                        3. ตัดผลไม้เป็นสีเหลี่ยมจากนั้นนำไปติดกับกระดาษแข็งและเคลือบให้สวยงาม







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

       การเรียนรู้ครั้งนี้เราสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมภายในชั้นเรียนการทำสื่อในวันนี้สามารถที่จะสอดแทรกองค์ความรู้ในเกมการศึกษาเด็กจะได้ทั้ง ความรู้ ความสนุก ความคิดแก้ไขปัญหาและจิตนาการที่เกิดจากตัวเด็กผ่านกระบวนเรียนรู้ด้วยตนเอง


การประเมินผล
การประเมินผลของตนเอง เรียนรู้และเข้าใจในการเรียนการสอน เพราะมีการจดบันทึกงานหรือคำแนะนำจากอาจารย์เพื่อช่วยเตือนความจำของตนเอง

 การประเมินผลของเพื่อน  เพื่อนมีความตั้งใจในการทำงานดีมาก เคารพและเชื่อฟังคำสั่งของอาจารย์มีส่วนรวมช่วยเหลือกันและกันตลอดให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเป็นอย่างดี


การประเมินผลของอาจารย์  อาจารย์ตรงต่อเวลาให้อิสระในการทำงานของนักศึกษาและให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่อุปกรณ์มีไม่พร้อมร่วมถึงเดินตรวจตราค่อยให้คำแนะนำนักศึกษาตลอด








จบการนำเสนอ

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 14 ตุลาคม 2558
รายวิชาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด 
                                                   กลุ่ม 102 ห้อง 223 เวลา 12.30 - 15.30 น.


  • สัปดาห์นี้ไม่ได้มาเรียนค่ะ  ติดต่ออาจารย์โดยนำเอาชิ้นงานกลับไปทำที่บ้าน ชิ้นงานนี้ป็นงานกลุ่ม 2คน 



ชิ้นงานทั้ง 2 ชิ้นนี้เราช่วยกันทำค่ะ 







จบการนำเสนอ






บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่4

วันพุธ ที่ 7 ตุลาคม 2558
รายวิชาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด 
                                                   กลุ่ม 102 ห้อง 223 เวลา 12.30 - 15.30 น.
  •  กิจกรรมแรกของสัปดาห์นี้คือ การปั๊ม ก่อนเข้าเรียนอย่างเช่นทุกครั้ง
  • การทำภาพเคลื่อนไหวจากกระดาษ

ความรู้ที่ได้รับ

  •  การจัดสรรเวลาในการทำสื่อแต่ละชิ้น
  • การทำงานร่วมกับเป็นกลุ่ม
  • ความมีน้ำใจในการก็บกวาดหลังจากทำกิจกรรม
  • ความคิดสร้างสรรค์ของผลงานที่เกิดขึ้น   

      การทำภาพเคลื่อนไหวที่ 2 แบบ     
 1.การทำภาพเคลื่อนไหวจากด้านหลัง                                                       
 2.การทำภาพเคลื่อนไหวจากด้านข้าง

  •        สัปดาห์นี้อาจารย์ให้เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ต่อกลุ่ม กลุ่มของดิฉันแบ่งเป็นฝั่ง ฝั่งละ 3 ต่อ 1 ชิ้นงานว่าแล้วก็ลงมือทำค่ะ ^^   บรรยากาศตอนนั้นต้องทำเวลาทุกกลุ่มขะมักเขม้นกับชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายตัวดิฉันเองจับสีไม้มากจนไม่ได้เก็บภาพขั้นตอนการทำมาให้ดู  แต่อธิบายขั้นตอนการทำได้ดูชิ้นงานก่อนน่ะค่ะ


                                       ผลงงานของกลุ่มดิฉัน



                                             

         


ขั้นตอนการทำภาพเคลื่อนไหวด้วยกระดาษจากด้านข้าง
  • ออกแบบชิ้นงานพร้อมกับระบายสีให้สวยงาม
  • พับกระดาษให้เป็นทรง 2 เหลี่ยม ตัดเป็นช่องเพื่อเป็นที่ให้เป็ดขยับได้ 
  • นำกระดาษแข็งเจาะติดเข้ากับกระดาษที่ใช้ติดกับตัวเป็ดโดยไม่เน้นแน่นมาก 
โฉมหน้าของกลุ่มดิฉัน สวยงามใช่ไหมค่ะ  ><



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

       การเรียนรู้ครั้งนี้เราสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้คือ นำไปเป็นสื่อการเรียนรู้จากการจัดกิจกรมมนิทาน บทบาทสมมติ ใช้ประกอบการเล่านิทานได้

การประเมินผล
การประเมินผลของตนเอง เรียนรู้และเข้าใจในการเรียนการสอน เพราะมีการจดบันทึกงานหรือคำแนะนำจากอาจารย์เพื่อช่วยเตือนความจำของตนเอง

 การประเมินผลของเพื่อน  เพื่อนมีความตั้งใจในการทำงานดีมาก เคารพและเชื่อฟังคำสั่งของอาจารย์มีส่วนรวมช่วยเหลือกันและกันตลอดให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

การประเมินผลของอาจารย์  อาจารย์ตรงต่อเวลาให้อิสระในการทำงานของนักศึกษาและให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่อุปกรณ์มีไม่พร้อมร่วมถึงเดินตรวจตราค่อยให้คำแนะนำนักศึกษาตลอด








จบการนำเสนอ